507 จำนวนผู้เข้าชม |
ลองทำความเข้าใจโรคสมาธิสั้น และเชคลิสต์ดูคะ ว่าเข้าข่ายหรือไม่
โรคสมาธิสั้น(ADHD) คือ กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก (ก่อนอายุ12ปี) ที่มีสาเหตุจากพัฒนาการที่บกพร่องของสมองบางส่วน ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรม อารมณ์ การเรียน การเข้าสังคมกับผู้อื่นของเด็ก กลุ่มอาการนี้ประกอบด้วย
สังเกตลูกเรา ดูอาการบ่งชี้ผู้ที่อาจเป็นโรคสมาธิสั้น
ซึ่งต้องเกิดขึ้นก่อนอายุ 12 ปี และแสดงออกในสถานการณ์อย่างน้อย 2 แห่ง เช่น ที่โรงเรียน ที่บ้าน
ได้เแก่
1. อาการขาดสมาธิ ( attention deficit )
เด็กจะมีลักษณะวอกแวกง่าย ขาดความตั้งใจในการทำงาน โดยเฉพาะงานใช้ความคิด หรือมีอาการเหม่อลอยฝันกลางวัน ทำงานไม่เสร็จ ผลงานไม่เรียบร้อยตกหล่น สะเพร่า ขาดความรอบคอบ ขี้ลืมทำของหายเป็นประจำ หรือบางทีมีลักษณะไม่ฟังเวลาพูดด้วย เวลาทำงานมักทำครึ่งๆกลางๆ อาการขาดสมาธิมักมีต่อเนื่องติดตัวไปจนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่
*เชคเลยว่ามีอาการ6ข้อขึ้นไป และนานติดต่อกันเกิน6เดือน
1.1 มักไม่สามารถจดจ่อกับรายละเอียดหรือไม่รอบคอบเวลาทำงาน หรือในการทำกิจกรรมอื่นๆ
1.2 ไม่มีสมาธิในการทำกิจกรรมต่าง เช่น การเรียน การอ่านหนังสือนานๆ
1.3 มักดูเหมือนไม่ได้ฟังสิ่งที่คนอื่นพูดกับตนอยู่ เช่นเหม่อลอย แม่ไม่มีสิ่งเร้ามาเบี่ยงเบนความสนใจ
1.4 มักทำตามที่สั่งได้ไม่ครบ ทำให้งานในห้องเรียน งานบ้าน
1.5 มักมีปัญหาในการจัดระบบงานหรือกิจกรรม ทำงานไม่เป็นระเบียบ
1.6 มักเลี่ยง ไม่ชอบ หรือไม่เต็มใจที่จะร่วมทำงานที่ต้องการความใส่ใจพยายาม
1.7 มักทำของที่จำเป็นในการเรียน หรือของส่วนตัว หายเป็นประจำ
1.8 มักวอกแวกไปสนใจสิ่งเร้าภายนอกได้ง่าย
1.9 มักหลงลืมกิจวัตรประจำวันที่ทำเป็นประจำ
2. อาการหุนหันพลันแล่น วู่วาม (impulsivity)
*เชคเลยว่ามีอาการ6ข้อขึ้นไป และนานติดต่อกันเกิน6เดือน
2.1 มักยุกยิก อยู่ไม่สุข ชอบเคาะมือ เอื้อมมือไปคว้าโน่นคว้านี่ เตะเท้าหรือนั่งนิ่งไม่ได้
2.2 มักลุกจากที่นั่ง หรือในสถานการณ์อื่นที่จำเป็นต้องนั่งอยู่กับที่
2.3 มักวิ่งไปมาหรือปีนป่ายสิ่งต่างๆ โดยไม่เหมาะสมกับกาลเทศะ
2.4 มักเล่นเสียงดัง หรือทำอะไรโครมคราม
2.5 มักพร้อมที่จะวิ่งไป เหมือนเครื่องจักรที่เดินเครื่องตลอดเวลา
2.6 มักพูดมาก พูดไม่หยุด
2.7 มักชิงตอบคำถาม ก่อนที่จะฟังคำถามจบ
2.8 มักมีปัญหาการเข้าคิวรอคอย
2.9 มักขัดจังหวะ หรือสอดแทรกผู้อื่น ขณะที่ผู้อื่นสนทนาอยู่ หรือหยิบของผู้อื่นโดยไม่ขออนุญาต
ลองเชคลิสต์กันดูนะคะ สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคสมาธิสั้นได้อย่างถูกต้อง คือประวัติที่ละเอียด น่าเชื่อถือได้จากผู้ปกครองที่ใกล้ชิดกับเด็ก และจากครูอาจารย์ ร่วมกับการตรวจร่างกาย ตรวจระบบประสาท และการสังเกตพฤติกรรมของเด็ก
ถ้าเชคลิสต์ข้างต้นดูแล้ว ลูกน้อยเข้าข่ายเป็นสมาธิสั้น หรือคุณพ่อคุณแม่ก็ยังคงมีความกังวลใจอยู่
ควรนัดพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเลยค้าา
สมาร์ทคิดส์เอาใจช่วยค้าาาา
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก หนังสืออยู่อย่างสุขกับลูกสมาธิสั้น
รองศาสตราจารย์นายแพทย์ชาญวิทย์ พรนภดล
สาขาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล