Last updated: 2 พ.ย. 2567 | 6689 จำนวนผู้เข้าชม |
สนามสอบสาธิตประถม1 และชั้นเด็กเล็ก ถือว่าเป็นการเอนทรานซ์ฟันน้ำนมอย่างแท้จริง และถือว่าที่เป็นด่านที่หินสุดๆเลยก็ว่าได้..สำหรับความหินแรกคือจำนวนของผู้ที่ลงสนามสอบกับจำนวนผู้ที่ถูกคัดเลือกมันช่างห่างกันซะเหลือเกิน ฟังแล้วจะตกใจจนต้องถามซ้ำ 30 : 1 จริงหรือ??? ก็ต้องขอตอบว่าเป็นเช่นนั้น... หรือไม่ใช่ก็ใกล้เคียง เด็กสมัครเกือบ3,000คน รร.สาธิตคัดเลือกรับเรียนจริงเพียง 100-130 คนเท่านั้น
และด่านหินที่สองคือ แนวข้อสอบที่ก็แหม...ผู้ออกข้อสอบช่างคิดได้น๊อ.. (อยากเห็นหน้าคิดคำถามจริงๆ อิอิ) ก็เพราะสนามสอบสาธิตประถมและชั้นเด็กเล็กนี้ ถือเป็นกระบวนการคัดกรองและเฟ้นหาเด็กที่มีทักษะครบเครื่อง สมาธิเลิศ ฉลาด เฉลียว รอบรู้ วิชาการได้ อีคิวดี ไอคิวเด่น... แหมช่างครบเครื่องและรอบด้านจริงๆ
ซึ่งคุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจเคยเห็น “ แนวข้อสอบสาธิต” แว่บๆกันอยู่บ้าง แล้วก็นึกสงสัยว่าเล่นถามเด็กกันขนาดนี้เลยเหรอ 555 ..แต่ถ้าหากลองนึกดูดีๆถ้าข้อสอบสนามสาธิตเบาๆแบบใครๆก็เดาได้ เช่น เติม ก.ไก่ – ฮ.นกฮูก , 5+5=10, หรือประสมแม่ก.กา.... เป็นพื้นฐานแบบเบๆของเด็กระดับอนุบาล ทว่าในแต่ละปีมีเด็กไปสมัครและเข้าสอบจำนวนเกือบสามพันคน ..กรรมการคงไม่รู้จะใครออกจะคัดใครเข้าเรียนที่นี่ได้ เพราะเด็กส่วนใหญ่ทำข้อสอบกันได้เกือบทุกข้อแน่นอน...แต่สนามสอบสาธิตคือสนามของหนูน้อยนักคิด คัดกรองหาเด็กที่มีความโดดเด่นในการแก้ปัญหา มีจินตนาการ และมีทักษะรอบด้านอันยอดเยี่ยม..
ฉะนั้นหากเรารู้ถึงวิธีการทดสอบและแนวข้อสอบสาธิต ตลอดจนความเข้มข้นในการแข่งขันนี้แล้วและพ่อแม่ได้ตรึกตรองหลายกันตลบดีแล้ว สรุปว่าคงไม่ไหวในการไปสู้ฝ่าฟันในสนามสาธิตแน่ๆ ก็ไม่เป็นไรคะ.... เพราะมีรร.ที่ดีๆในประเทศอีกเยอะที่เหมาะสมกับลูกได้เช่นกัน. ไม่จำเป็นต้องเป็นโรงเรียนสาธิตก็ได้.... แต่ในทางกลับกันถ้าหากคิดว่าการเตรียมความพร้อมที่จะลงสอบสนามสาธิตประถม มันถือว่าเป็นโอกาสของครอบครัวคุณ คุณก็ไม่ต้องกังวลกับคู่แข่งหลายพันคน แข่งกับตัวเองเนี่ยแหละ และจะตั้งใจทำทุกอย่างให้ดีที่สุด อย่างน้อยการพัฒนาลูกอย่างมีเป้าหมายนี้ก็จะทำให้ลูกเราเก่งขึ้นอย่างแน่นอน....
ผู้เขียนเกริ่นมาซะยาวนาน เอาเป็นว่าเมื่อเรารู้แล้วว่าไม่ง่ายเลยในการที่ไปถึงฝั่งฝันนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีกลยุทธ์ ใช้จิตวิทยา สร้างวินัย บ่มเพาะความอดทน ความเพียร ที่สำคัญที่สุดหากเจ้าตัวน้อยไม่ให้ความร่วมมือคงถือว่าแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยทีเดียว
หัวใจสำคัญ ที่จะต้องพัฒนาไปตลอดระยะทางคือ
1. พัฒนาสมาธิและทักษะการฟัง ฝึกจินตนาการตามนิทานหรือเรื่องที่ฟัง สร้างภาพในใจให้แม่นยำยิ่งขึ้น
2. มีวินัยในการหมั่นทำแบบฝึกหัด ไม่จำเป็นต้องมีปริมาณมากๆ แต่เน้นว่าค่อยๆทำด้วยความเข้าใจ
ทำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ (อาจจะมีวันหยุดพักทำแบบฝึกหัดได้สัปดาห์ละ1วัน แต่ควรให้มีกิจกรรมอื่นๆที่สร้างสรรค์แทน)
3. หมั่นกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น ฝึกให้เป็นเด็กช่างสังเกต มีเหตุผลยอมรับต่อกติกาสังคม
4. สำคัญที่สุดคือให้กำลังใจกันและกัน ใส่ใจ มีความเห็นอกเห็นใจ แสดงความรักด้วยการโอบกอด และให้คำชมเชยกับเจ้าตัวน้อยอย่างสม่ำเสมอ
ส่วนวิธีในการฝึกฝน และพัฒนาลูกน้อย ไปสู่รั้วสาธิตต่อไปอย่างไร ผู้เขียนจะขอลงลึกและนำมาเล่าสู่กันฟังในตอนต่อไปคะ.... สู้ๆคะ
30 พ.ย. 2567
25 มี.ค. 2567
29 มี.ค. 2566