เพิ่มเพื่อน

ติวเข้าสาธิต...ด้วยจิตวิทยาเชิงบวก โลมาโมเดล

3139 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ติวเข้าสาธิต...ด้วยจิตวิทยาเชิงบวก โลมาโมเดล

การพัฒนาผู้เรียนด้วยจิตวิทยาเชิงบวก..

ติวเข้ารร.สาธิต ด้วยจิตวิทยาเชิงบวกคืออะไร..
 
         คำว่าบวกมันคือการเพิ่มขึ้น ฉะนั้นจิตวิทยาเชิงบวกคือการสื่อสารเพื่อเพิ่มเติมพลังแห่งความรัก สร้างแวดล้อมทางด้านบวก ด้วยการให้กำลังใจ ชมเชย ใช้คำพูดดีๆ ตลอดจนการโอบกอดและให้ความใกล้ชิด เพื่อมุ่งให้ผู้เรียนมีความผ่อนคลาย มีความเติมเต็มจากภายใน จนเกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง ...และยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิด มีความสามารถในการแก้ปัญหาและพัฒนาทุกทักษะอย่างเป็นระบบ  
ดึงศักยภาพในทุกๆด้านออกมาอย่างสูงสุด..
 
         ทั้งนี้ดิฉันขออนุญาตนำบทความดีๆ   ของรศ.ดร.เกียรติวรรณ อมาตยกุล ที่ดิฉันอ่านแล้วรู้สึกประทับใจและตรงใจเป็นอย่างมากนำมาเผยแพร่ให้แก่พ่อแม่ และผู้ที่อบรมเด็กๆทุกท่านคะ


เรื่องการเรียนการสอนแบบนีโอฮิวแมนนิส  :  อมาตยกุล & โลมาโมเดล 

         โรงเรียนอมาตยกุลจัดการเรียนการสอนแนวคิดนีโอฮิวแมนนิส ที่มีความเชื่อว่ามนุษย์มีศักยภาพแฝงเร้นที่ยิ่งใหญ่ซ่อนอยู่ในตัวด้วยกันทุกคน  มนุษย์จึงมีความสำคัญ  มีคุณค่าเหนือสิ่งใดๆ   โดยพื้นฐานของจิตใจแล้วมนุษย์มีความดีงาม  มีคุณค่า  ใฝ่รู้  มีความต้องการจากภายในที่จะพัฒนาตัวเองไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด  การศึกษามีหน้าที่ที่จะต้องช่วยพัฒนาศักยภาพแฝงเร้น  ที่มีอยู่ในตัวคนเราแต่ละคนออกมาให้ได้สูงที่สุด  การเรียนรู้ของมนุษย์จะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดจะต้องมีองค์ประกอบดังนี้

1.  บรรยากาศให้คลื่นสมองต่ำ

2.  การสร้างภาพพจน์ด้านบวกให้กับผู้เรียน

3.   ใช้วิธีจูงใจ  ไม่ใช่การบังคับ

4.   ผู้สอนต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้เรียน


        ผมไปพบข้อมูลเรื่องการฝึกปลาโลมา เรื่องราวนี้จะทำให้เราเห็นภาพของการสอนหรือการเลี้ยงดูเด็กด้านบวกที่สอดคล้องกับแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสข้างต้นได้ชัดเจนขึ้น ดังนี้  


        ถ้าเราจำเป็นที่จะต้องสอนปลาโลมาให้กระโดดข้ามเชือกสูง 22 ฟุต ให้ได้ เราจะทำอย่างไร? การสอนนี้เป็นการท้าทายที่ยิ่งใหญ่ เพราะปลาโลมาพูดภาษาคนไม่ได้ และฟังภาษาคนไม่รู้เรื่อง

        สิ่งแรกที่ครูฝึกต้องทำ คือ กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน หรือวางแผนกลยุทธ์ โดยเอาเชือกไปแขวนไว้ที่ตำแหน่ง 22 ฟุตเหนือน้ำ และคิดอยู่เสมอว่าปลาโลมาจะกระโดดข้ามได้อย่างสบายๆ จากนั้นครูฝึกจะต้องคิดหาทางสร้าง “แรงกระตุ้น หรือแรงจูงใจด้านบวก”  เพื่อที่จะทำให้โลมาทำได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

       แรงจูงใจด้านบวกคืออะไร ?  แรงจูงใจด้านบวกคือ สภาพแวดล้อมด้านบวกที่อบอุ่น ความเข้าอกเข้าใจ ความเป็นมิตรเป็นกันเอง ผู้ฝึกสามารถสร้างบรรยากาศของการเรียนรู้ที่ดีได้โดยการลงไปว่ายน้ำด้วย มีการพูดคุย สัมผัส ลูบหัว และหยอกล้อเล่น และอีกสิ่งหนึ่งก็คือ อาหารที่โลมาชื่นชอบ นั่นก็คือ ปลา   จากนั้นครูฝึกต้องหาวิธีการ “เร่ง หรือชักจูง หรือจูงใจ” ให้โลมากระโดดข้ามเชือกให้ได้

         ถ้าครูฝึกให้โลมากระโดดข้ามเชือกที่สูง 22 ฟุต ในทันที   ถ้าทำได้จะให้กินปลา  โลมาจะทำได้หรือไม่ ?  คงจะทำไม่ได้อย่างแน่นอน

      ถ้าเช่นนั้นครูฝึกควรทำอย่างไร  ครูฝึกจะต้อง “สร้างสภาพแวดล้อม” ที่จะทำให้โลมาเกิดความปลอดภัย สบายใจ มั่นใจว่าสามารถทำได้ และมีความรู้สึกดีที่ทำได้

        ครูฝึกจะเริ่ม วางเชือกไว้ที่บริเวณ ใต้ผิวน้ำ ในตำแหน่งที่โลมาสามารถว่ายข้ามไปมาได้สะดวก

        หลังจากนั้นครูฝึกจะยกระดับเชือกให้สูงขึ้นทีละน้อย และทุกครั้งที่โลมา “โดดข้ามเชือกได้”  โลมาก็จะได้รับรางวัล ซึ่งจะทำให้โลมาเกิดความเชื่อมั่นที่สูงขึ้นเรื่อยๆ  รางวัลที่โลมาได้รับ คือ ปลาเป็นอาหาร รวมทั้ง  “คำชม การสัมผัส การลูบหัว และการหยอกล้อเล่น”

        สิ่งสำคัญที่โลมาได้รับ คือ “กำลังใจที่เข้มแข็งขึ้น”

        ถ้าหากโลมาไม่ยอมว่าย หรือไม่ยอมกระโดดข้ามเชือกจะเกิดอะไรขึ้น ?

        คำตอบคือ  ไม่มีอะไรเกิดขึ้นทั้งสิ้น      ไม่มีการด่าว่า ตำหนิติเตียน      ไม่มีการแสดงอาการไม่พอใจ ไม่มีการแสดงออกว่าอารมณ์เสียของครูฝึก    ไม่มีการลดอาหาร  ไม่มีการบันทึกความผิดพลาดลงในประวัติของโลมา     ไม่ทำโทษด้วยการช็อตกระแสไฟฟ้า

        โลมาจะเรียนรู้ว่า ครูฝึกเห็นว่า การกระทำที่ผิดพลาด ไม่ใช่เป็นสาระสำคัญของการเรียนรู้ เพราะว่าครูฝึกเพิกเฉย และไม่ใส่ใจความผิดพลาดของโลมาแม้แต่น้อย

        จากความมั่นใจที่เพิ่มมากขึ้น ความสำเร็จทีละขั้น ที่ไม่กลัวที่จะล้มเหลวหรือผิดพลาด โลมาจะเก่งขึ้น มีความสามารถสูงขึ้น ยิ่งผู้ฝึกตื่นเต้น ยินดี ประทับใจในความก้าวหน้าของโลมามากขึ้นเท่าใด ความสำเร็จของโลมาก็จะสูงขึ้นและทำพลาดน้อยลงเท่านั้น  ครูฝึกจะค่อยๆ เพิ่มระดับความสูงของเชือกให้มากขึ้น โดยจะต้องไม่เพิ่มสูงเกินไป ไม่ช้าเกินไปจนทำให้โลมารู้สึกหิวที่ขาดอาหาร

        ทุกการเรียนรู้ของโลมาเป็นไปอย่างมีขั้นตอน และสม่ำเสมอ จนในที่สุด เจ้าโลมาก็สามารถกระโดดข้ามเชือกที่สูงถึง 22 ฟุต เหนือผิวน้ำได้สำเร็จ

        บทเรียนจาก “โลมา Model” คือ การเรียนรู้ที่ดีจะเกิดขึ้นภายใต้สิ่งแวดล้อมด้านบวกที่อบอุ่นเป็นกันเองมีมิตรภาพ  แรงจูงใจด้านบวก  และการไม่ใส่ใจกับความผิดพลาด เราทุกคนจะรู้ตัวดีเมื่อทำอะไรผิดพลาด และสิ่งที่ต้องการก็คือ กำลังใจ  และการให้โอกาส  ถ้ามีการตำหนิ      ติเตียน   ทำโทษ   ด่าว่า   หรือใช้วิธีการด้านลบใดๆ   คนเราจะจดจำความผิดพลาดนั้นไว้ในใจและจะส่งผลให้ทำสิ่งผิดพลาดนั้นซ้ำบ่อยครั้งและรุนแรงขึ้น ดังเช่นชีวิตของคนร้าย โจร อาชญากรทั้งหลาย

 

มนุษย์ฝึกสัตว์ได้ดีขนาดนี้แล้วพวกเราล่ะ ครู พ่อแม่ ผู้บริหารฝึก “คน” ได้ดีอย่างนี้หรือไม่
 

                                                              รศ.ดร.เกียรติวรรณ อมาตยกุล
 
 
ขอขอบคุณ ที่มา http://www.amatyakulschool.com/
 
 
#ติวสาธิต #ติวสอบสาธิตเกษตร #คอร์สติวเข้าสาธิตเกษตร #คอร์สติวเข้าสาธิตประสานมิตร #คอร์สติวเข้าสาธิตรามคำแหง #คอร์สติวเข้าสาธิตจุฬา #แนวข้อสอบสาธิต #ติวเข้าป1  #จองคอร์สติวเข้าสาธิตเกษตร #จองคอร์สติวเข้าสาธิตมศว. #สาธิตมศว.ประสานมิตรส่วนขยายองครักษ์ #สอบสาธิตเกษตร #สอบสาธิตเกษตรปี62 #สอบ เข้า สาธิต #สอบ สาธิต 2562 #เตรียมสอบเข้าสาธิตมศว.ประสานมิตร #สอบสาธิตรามคำแหงประถม #ติวเข้าสาธิตแถวสายไหม #ติวเข้าสาธิตวัชรพล #รร.ติวสาธิตวัชรพล #ติวเข้มก่อนสอบสาธิตจุฬา #คอร์สตะลุยโจทย์สาธิตมศว.#สอบสาธิตประสานมิตร #ติว เข้า สาธิต ป 1 #ติว เข้า สาธิต เกษตร
 
 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้